ไหว้พระขอพรพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดใต้เมืองอุบลฯ ที่เคยสำแดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์สร้างตำนานฝนฟ้าคะนอง 7 วัน 7 คืน
2021-03-20 16:30
จำนวนครั้งที่อ่าน : 21
ที่วัดใต้มีมณฑปเพชรเจ็ดแสงและอุโบสถ ที่มุมด้านข้างของพระอุโบสถเราก็จะเห็นองค์ประกอบหลายๆ อย่างได้แก่รูปปูนปั้น “ตื้อ” เป็นจำนวนนับของชาวล้านนา หรือภาคอีสาน เช่น หลักหน่วย-สิบ-ร้อย-พัน-หมื่น-แสน-ล้าน-โกฏิ-ตื้อ-อสงไขย นับไปไม่ได้ชาวพุทธได้นำทองคำ เงิน นาก สัมฤทธิ์ จำนวนมากหล่อเป็นพระพุทธรูปที่งดงาม จนหาค่าประมาณมิได้ องค์พระหนักเก้าแสนบาทบนจึงได้ชื่อว่า “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” หรือ (พระเจ้าแสนตื้อ)
หรือที่ชาวอุบลฯมักเรียกว่า วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นวัดราษฎร์
ตั้งอยู่ที่ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลฯ จังหวัดอุบลราชธานี
มีเนื้อที่ 9 ไร่ อยู่ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำมูล
(อยู่ตรงข้ามกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อุบลราชธานี)
สร้างเมื่อ พ.ศ.2373 ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ต่อมา วัดใต้ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดใต้ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ" เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปเก่าแก่
นามว่า " พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ " ซึ่งมีตำนานตามที่เล่าสืบต่อกันมาว่า
ขณะหล่อและอัญเชิญ พระเจ้าองค์ตื้อ มาประดิษฐานภายใน พระอุโบสถวัดใต้นั้น
ได้เกิดฝนฟ้าคะนองนานถึง 7 วัน 7 คืน ซึ่งชาวอุบลฯเชื่อว่า เป็นอิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์
ของ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นเนื้อทองเก้าสัมฤทธิ์ปางวิชัย หน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 85 นิ้ว (รวมฐาน)
ได้รับการยกย่องมาว่า เป็นพระพุทธรูป ที่งดงามในประเทศไทยและภาคอีสานเป็นพระประธานองค์ศักดิ์สิทธิ์
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ครองนครเวียงจันทร์
ตามประวัติ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ มีอยู่ 5 องค์ อยู่ในประเทศไทย 4 องค์ ได้แก่
พระเจ้าองค์ตื้อ อยู่วัดใต้ ในเมืองอุบลราชธานี
พระเจ้าองค์ตื้อ อยู่ที่วัดปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี
พระเจ้าองค์ตื้อ อยู่ที่วัดสีชมพู อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
พระเจ้าองค์ตื้อ อยู่ที่วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
และพระเจ้าใหญ่องค์ตื้ออยู่ที่ ประเทศลาวอีก 1 องค์
ซึ่งเป็นรูปลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ตามสันนิฐานว่า คงเป็นช่างสมัยเดียวกัน
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ที่วัดใต้ ในเมืองอุบลราชธานี เดิมทีประดิษฐานอยู่บนแท่นพระอุโบสถหลังเก่า
ฐานรองรับสูง 70 เซนติเมตร สร้างแบบง่ายๆ ภายหลังอุโบสถหลังเก่าทรุดโทรม
พระเจ้าองค์ตื้อจึงอยู่กลางแจ้ง ตากแดด ตากฝน เป็นเวลานาน ทำให้องค์พระพุทธรูปองค์ตื้อมีรอยแตก
เป็นสะเก็ดออกมา ผู้เฒ่าผู้แก่ สมัยปู่ย่าตาทวดได้บอกเล่าสืบต่อกันมาว่า
พระพุทธรูปองค์ตื้อนี้ได้ถูกหุ้มห่อทาปอมพอกเอาไว้พอกด้วยเปลือกไม้ ยางบด ผสมผงอิฐเจ
และทองคำ เงิน นาก สัมฤทธิ์ เงิน รางกาชาดซะพอก ให้น้ำเกลี้ยง น้ำชาดผสมทาปอมพอก
แล้วลงรักปิดทองที่เข้าเมืองอุบลราชธานี และเถราจารย์ในสมัยนั้น เพราะเป็นสมบัติล้ำค่า
ที่ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ซึ่งองค์พระพุทธรูปเป็นทองแท้สัมฤทธิ์กลัวว่าจะถูกข้าศึกศัตรูขนเอาไป
จึงได้ทาปอมพอกปิดเอาไว้ และปล่อยทิ้งเป็นวัดร้างนานถึง 200 ปี
ครั้นต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2507-2508 ครั้งนั้นพระภิกษุสวัสดิ์ ทสฺสนีโย ปัจจุบัน เป็นราชาคณะชั้นราช
ที่พระราชธรรมโกศล เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ รูปที่ 13 ปัจจุบันและ
เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธ) ได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น
นำพระภิกษุ-สามเณร ทายก-ทายิกา และชาวบ้านชุมชนใกล้กวัด ก่อสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2519
เมื่อสร้างฐานแท่นพระพุทธรูปพระประธานเสร็จจึงได้ยกพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อขึ้นประดิษฐานที่แท่นจนถึงปัจจุบันนี้
รวมอายุองค์พระประมาณ 225 ปี