ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก
2021-01-30 13:46
จำนวนครั้งที่อ่าน : 8
วัดหนองป่าพง มีความแตกต่างจากวัดอื่นคือ มีการกำหนดข้อกติกาสงฆ์ ซึ่งเลือกสรรมาจากธรรมและวินัย ของพระโคตมพุทธเจ้า โดยมิได้เพิกถอนหรือบัญญัติสิ่งใดเพิ่มเติม เพียงแต่นำธรรมและวินัยมาประกอบกันขึ้น เป็นกฎกติกาเพื่อควบคุมความประพฤติของภิกษุสามเณร ไม่ให้ออกจากแนวทางของพระพุทธองค์ สาเหตุของการที่หลวงปู่ชาได้กำหนดข้อกติกาสงฆ์นี้ขึ้น สืบเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ของวัดสาขาและจำนวนภิกษุสามเณร ในปี พ.ศ. 2500 หลวงปู่จึงกำหนดข้อกติกาสงฆ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นรากฐานของข้อวัตรปฏิบัติในวัดหนองป่าพงและสาขา ซึ่งถือว่ากติกานี้ คือตัวแทนส่วนหนึ่งของหลวงพ่อในปัจจุบัน
วัดหนองป่าพง มีความแตกต่างจากวัดอื่นคือ มีการกำหนดข้อกติกาสงฆ์ ซึ่งเลือกสรรมาจากธรรม
และวินัยของพระโคตมพุทธเจ้า โดยมิได้เพิกถอนหรือบัญญัติสิ่งใดเพิ่มเติม
เพียงแต่นำธรรมและวินัยมาประกอบกันขึ้นเป็นกฎกติกา เพื่อควบคุมความประพฤติของภิกษุสามเณร
ไม่ให้ออกจากแนวทางของพระพุทธองค์
สาเหตุของการที่หลวงปู่ชาได้กำหนดข้อกติกาสงฆ์นี้ขึ้น สืบเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องของวัดสาขาและจำนวนภิกษุสามเณร ในปี พ.ศ. 2500 หลวงปู่จึงกำหนดข้อกติกาสงฆ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นรากฐานของข้อวัตรปฏิบัติในวัดหนองป่าพงและสาขา ซึ่งถือว่ากติกานี้ คือตัวแทนส่วนหนึ่งของหลวงพ่อในปัจจุบัน
เป็นวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เหมาะแก่การเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ก่อตั้งโดยหลวงปู่ชา สุภัทโท เมื่อ พ.ศ. 2497
วัดหนองป่าพง ตั้งอยู่ที่บ้านพงสว่าง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ เหมาะแก่การเล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
นอกจากนี้วัดหนองป่าพงยังเป็นต้นแบบของวัดป่ากว่า 100 แห่งในประเทศไทย
และอีกหลายแห่งในต่างประเทศ
วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของวัดหนองป่าพง
เมื่อพระโพธิญาณเถระ (ชา สุภัทโธ) ได้เดินธุดงค์มาถึง "ดงป่าพง"
พร้อมด้วยลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง จากนั้นก็ได้ทำการปักกลดเรียงรายอยู่ตามชายป่าประมาณ 5-6 แห่ง
ดงป่าพงในสมัยนั้นมีสภาพเป็นป่าทึบรกร้าง ใจกลางป่ามีหนองน้ำใหญ่ที่มี "กอพง"ขึ้นอยู่หนาแน่น
ชาวบ้านจึงเรียกป่าแถบนี้ว่า "หนองป่าพง"
ในระยะแรก ๆ หลวงปู่ชา และลูกศิษย์ต้องต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวกับไข้ป่า
ยามป่วยหายารักษายาก ต้องต้มบอระเพ็ดฉันไปตามมีตามเกิด
โดยไม่ยอมขอความช่วยเหลือจากผู้อุปฐากเลย เมื่อชาวบ้านเห็นก็เกิดความเลื่อมใส
จึงพากันมาสร้างอาคารต่าง ๆ ที่จำเป็นเช่น ที่พักสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม กุฏิ ศาลา
โรงฉัน หอระฆัง เสนาสนะอื่น ๆ จนมีสภาพเป็นวัดที่สมบูรณ์
ภายในบริเวณวัดมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจมากมาย เช่น พระอุโบสถ
มีลักษณะแตกต่างจากโบสถ์ทั่ว ๆ ไป เป็นต้นว่าไม่มีผนัง ประตู หน้าต่าง
เครื่องประดับลวดลาย เจดีย์พระโพธิญาณเถร เป็นสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบผสมผสาน
ระหว่างศิลปะอีสานกับล้านช้าง สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิหลวงปู่ชา
หอระฆัง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหอฉัน ตามผนังประดับด้วยภาพปูนปั้นเรื่องราวพุทธประวัติ
และสัตว์ที่อยู่ในป่าตามธรรมชาติของวัดหนองป่าพง
นอกจากนี้ยังมี พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร เป็นอาคาร 3 ชั้นทรงไทยประยุกต์
ชั้นล่างมีตู้จัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์ ชั้นที่สองจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน
และชั้นที่สามประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา ในท่านั่งอยู่บนเก้าอี้หวาย
พร้อมจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารของท่าน